วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ไทยพาณิชย์ชี้สัญญาณดีส่งออกเริ่มฟื้น


ธนาคารไทยพาณิชย์ มองแนวโน้มการส่งออกเริ่มฟื้นตัว ตลาดหลักขยายตัวดี ชี้ถ้าไม่รวมทองคำไทยจะเกินดุล 170 ล้านเหรียญฯ


          ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการส่งออกของไทย โดยวันนี้ (26 ก.ย.) กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 3.9%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 2.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 2.1%YOY ดุลการค้าขาดดุล 94.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ทั้งน้ ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และเป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปจีนที่กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ 3.1%YOY หลังจากที่หดตัวติดต่อกัน 4 เดือน นอกจากนี้ การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปขยายตัวสูงถึง 14.1%YOY ประกอบกับการส่งออกไปอาเซียนก็ขยายตัวสูงที่ระดับ 17.3%YOY ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจจีนและยุโรปที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดีการส่งออกไปญี่ปุ่นยังคงหดตัว 6.0%YOY เนื่องจากมูลค่าการส่งออกในรูปเหรียญสหรัฐฯ ของรถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักไปยังญี่ปุ่นยังหดตัวสูงที่ราว 24.3%YOY และ 13.1%YOY ตามลำดับ

          การส่งออกรถยนต์ขยายตัวสูง และการส่งออกยางพาราเริ่มปรับตัวดีขึ้น มูลค่าการส่งออกรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ขยายตัว 15.9%YOY จากที่หดตัว 10.2%YOY ในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้ปรับสายการผลิตให้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง โดยการส่งออกไปยังฟิลิปปินส์และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่อันดับ 3 และ 4 ของไทย ขยายตัวสูงถึง 67%YOY และ 52.3%YOY ตามลำดับ นอกจากนี้การส่งออกยางพาราหดตัว 7.8%YOY น้อยลงจากเดือนที่แล้วที่หดตัว 20.5%YOY ซึ่งเป็นผลมาจากราคายางพาราที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นและปริมาณการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วราว 12.7%YOY ตามการส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นที่ปรับตัวดีขึ้น

          ขณะที่ การนำเข้าหดตัวเล็กน้อย การนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรยังหดตัวต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่ 7.3%YOY ประกอบกับการนำเข้าสินค้าในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งหดตัวถึง 20.1%YOY เนื่องจากสินค้าทั้ง 2 หมวดนี้มีการนำเข้าค่อนข้างสูงในปีที่ผ่านมาตามการเร่งลงทุนภาคเอกชนและนโยบายรถคันแรก

          สำหรับดุลการค้าขาดดุล 94.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ถ้าหากไม่รวมการส่งออกและนำเข้าทองคำ ดุลการค้าในเดือนสิงหาคมจะเกินดุล 170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) มองว่า การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทย ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และจีน นอกจากนี้ แนวโน้มการส่งออกรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อทดแทนตลาดในประเทศจะเป็นแรงส่งที่สำคัญต่อการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ไทยพาณิชย์จับมือแฟมิลี่มาร์ทบริการชำระบิล

ไทยพาณิชย์จับมือแฟมิลี่มาร์ทขยายช่องทางบริการชำระบิลที่ร้านแฟมิลี่มาร์ทผ่านระบบไทยพาณิชย์


ธนาคารไทยพาณิชย์จับมือพันธมิตรร้านสะดวกซื้อ แฟมิลี่มาร์ทเปิดบริการชำระบิลที่ร้านแฟมิลี่มาร์ทผ่านทางระบบธนาคารไทยพาณิชย์เป็นครั้งแรก เพื่อขยายช่องทาง และรองรับความต้องการในการชำระบิลของลูกค้าผ่านทางร้านแฟมิลี่มาร์ทกว่า 900 สาขาทั่วประเทศ พร้อมสานต่อแนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Focus) หวังแบ่งตลาดชำระบิล 10%


          นายไตรรงค์ บุตรากาศ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สาย GTS ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “พฤติกรรมการชำระบิลของลูกค้าเปลี่ยนไปจากเดิมที่ในอดีตต้องชำระเงินผ่านทางธนาคารเท่านั้น ต่างกับปัจจุบันที่มียอดการชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคผ่านทางบริการชำระบิลในตลาดค้าปลีกมีสัดส่วนกว่า 60% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ธนาคารจึงเล็งเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจการชำระบิลในตลาดค้าปลีก จึงได้ร่วมมือกับ แฟมิลี่มาร์ท พัฒนาระบบการชำระค่าสินค้า และบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมสินค้าและบริการกว่า 100ประเภท พร้อมขยายช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการชำระบิลของสินค้า และบริการที่ร่วมโครงการได้ที่สาขาแฟมิลี่มาร์ท กว่า 900สาขา ทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิผลในด้าน การเก็บเงินจากลูกค้าให้มีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าสามารถชำระเงินได้หลายแห่ง”

          นายณัฐ วงศ์พานิช ประธานบริหาร บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า “ทางแฟมิลี่มาร์ท ได้รับการติดต่อจากทางธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อมาจัดทำโครงการร่วมกัน ซึ่งทางแฟมิลี่มาร์ทเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมาก ตอบโจทย์ให้แก่ทุกฝ่ายทั้งแฟมิลี่มาร์ท ธนาคาร และที่สำคัญที่สุดคือลูกค้า จากนั้นได้มีการพัฒนาระบบเรื่อยมา จนกระทั่งได้มีการเปิดบริการอย่างเป็นทางการในวันนี้ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บริการดังกล่าวได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ณ ร้านแฟมิลี่มาร์ททุกสาขา ที่มีป้ายโลโก้ จ่ายบิล ผ่านไทยพาณิชย์ด้านหน้าร้าน โดยขณะนี้ได้เปิดให้บริการรับชำระบิล ได้กว่า 900 สาขา ทั่วประเทศ และสามารถจ่ายบิลได้ทุกวัน แฟมิลี่มาร์ท และธนาคารไทยพาณิชย์มีความพร้อมที่จะให้บริการรับชำระบิลที่ร้านแฟมิลี่มาร์ทผ่านระบบของไทยพาณิชย์ ซึ่งลูกค้าผู้ใช้บริการจะเชื่อมั่นได้ว่าปลอดภัย และเชื่อถือได้แน่นอน แฟมิลี่มาร์ทคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จะมีขยายสาขาร้านแฟมิลี่มาร์ทได้ถึง 1,000 สาขา และในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 สาขา ทั่วประเทศ”

          ลูกค้าสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินได้ที่ร้านแฟมิลี่มาร์ท ที่มีป้ายโลโก้ จ่ายบิล ผ่านไทยพาณิชย์ ซึ่งบริการของบริษัท หรือ billers ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิเช่น การประปา , การไฟฟ้า, กลุ่ม True, AIS, บัตรเครดิตไทยพาณิชย์, อิออน ธนสินทรัพย์, ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต, โตโยต้าลิสซิ่ง, เมืองไทยประกันชีวิต,กรุงเทพประกันชีวิต และอีกหลายราย เมื่อทำรายการเสร็จ ลูกค้าก็จะได้รับหลักฐานการชำระเงินจากพนักงานร้านแฟมิลี่มาร์ท โดยสามารถเก็บเป็นหลักฐานไว้สำหรับตรวจสอบรายการในภายหลังได้

          นายไตรรงค์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกับแฟมิลี่มาร์ทเปิดตัวบริการชำระบิลที่สาขาแฟมิลี่มาร์ทผ่านทางระบบธนาคารไทยพาณิชย์เป็นครั้งแรกนี้จะเป็นอีกก้าวย่างหนึ่ง ในการเพิ่มช่องทางการให้บริการของธนาคารในการชำระค่าสินค้าและบริการ และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ธนาคารคาดว่าภายใน 3 ปีนี้ จะได้รับส่วนแบ่งทางการตลาด 10% ของตลาดบริการชำระบิลในร้านค้าปลีก จากความร่วมมือในครั้งนี้”








บิ๊กแบงก์ไทยพาณิชย์ ชี้เศรษฐกิจไทย-ค่าเงินยังผันผวน หลังเฟดคง QE เตือนผู้ประกอบซื้อความเสี่ยง พร้อมคุมเข้มปล่อยกู้ต่อเนื่อง แต่ยังมั่นใจปล่อยกู้ได้ตามเป้า

          นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB)กล่าวว่า สภาวะเศรษฐกิจของไทยที่มีความผันผวนอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากเงินทุนจากต่างประเทศที่เคลื่อนย้ายออกจากประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ด้วย หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศคงมาตรการ QE ไว้ก่อน และยังไม่มีข้อสรุปว่าจะลดวงเงิน QE ในช่วงไหน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่้งผลต่อค่าเงินบาทให้มีความผันผวนตามไปด้วย

         
          ดังนั้น ผู้ที่ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศก็จะต้องระมัดระวังในเรื่องดังกล่าว และควรป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจส่งออก หรือนำเข้า ซึ่งที่ผ่านมา มักจะมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่นิยมป้องกันความเสี่ยง แต่ปัจจุบัน ก็มีธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก เริ่มเห็นความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นปัจจัยสำคัญ

          “เรื่องการซื้อประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ก่อนนี้จะแต่บริษัทใหญ่ๆ ทำ แต่เดี๋ยวนี้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มมีความรู้ความเข้าใจ และเข้ามาทำมากขึ้น ซึ่งเรื่องเป็นที่ดี และธนาคารก็แนะนำมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าเงินผันผวนมากๆ”

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีการเติบโตช้าลงตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ แต่ภาคการเงินยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยังการเติบโตของสินเชื่อถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะชะลอลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ดี ไม่น่าเป็นห่วง โดยสินเชื่อของธนาคารน่าจะมีการเติบโตเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

          “สินเชื่อของธนาคารก็ยังขยายได้ดี เพราะยังมีการขยายธุรกิจในหลายด้าน แม้ว่าเศรษฐกิจช้าลงบ้าง ก็ถือว่าเป็นการปรับตัวมากกว่า แต่หากลูกค้ามีปัญหา ธนาคารก็พร้อมช่วยเหลือ และติดตามดูอยู่ตลอด เพราะเรามีสาขามาก ดูแลได้ทั่วถึง ที่สำคัญคือ ต้องเข้าช่วยเหลือลูกค้าตั้งแต่ตอนต้น ไม่รอให้เกิดปัญหาจนแก้ไม่ได้”

          อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ธนาคารยังคงกังวลมากที่สุด คือ การใช้เงินผิดประเภทของลูกค้า เป็นปัจจัยที่เสี่ยงที่สุดในการทำให้เกิดหนี้เสียในระบบ ทางธนาคารมีการเข้มงวดมาโดยตลอดในเรื่องการคัดกรองคำขอสินเชื่อ และในปัจจุบัน ก็มีความเข้มงวดมากขึ้น และเริ่มทำมานานพอสมควรแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะหากมาทำในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในขณะนี้ถือว่าช้าเกินไป

          ส่วนงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีในระยะยาว เพราะเป็นโครงการที่จะช่วยสร้างรากฐานของเศรษฐกิจ ถึงแม้จะใช้ระยะเวลานาน แต่ผลตอบแทนที่จะได้รับคุ้มค่า และจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาของประเทศได้ในหลายๆ ทาง


วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

SCB ออกประกันออมชดเชยรายได้





ไทยพาณิชย์ ออก “ประกันออมสบาย ชดเชยรายวัน” ชูจุดเด่น ออมเดือนละพัน รับเงินชดเชยรายได้วันละพันบาท

          นายสมิทธ์ พนมยงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายเงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ประกันออมสบาย ชดเชยรายวัน” เป็นทางเลือกใหม่เจาะกลุ่มลูกค้าวัยทำงาน และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ต้องการเงินชดเชยรายได้ เพราะจากการวิเคราะห์พบว่า ลูกค้ากลุ่ม Mass ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานทั้งผู้ประกอบอาชีพอิสระ และมนุษย์เงินเดือน อายุระหว่าง 25 – 35 ปี รายได้อยู่ในช่วง 1.5 หมื่นบาท – 5 หมื่นบาทต่อเดือนนั้น มีความต้องการเงินชดเชยรายได้ที่คล้ายกัน

          ด้าน นายวิพล วรเสาหฤท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต หรือ SCBLIFE กล่าวว่า แบบประกันออมสบาย ชดเชยรายวัน เป็นประกันแบบสะสมทรัพย์ที่ชำระเบี้ยประกัน 15 ปี และให้ความคุ้มครองถึง 25 ปี มีจุดเด่นในการให้ประโยชน์กับลูกค้าวัยทำงานแบบ 3-in-1 ทั้งในเรื่องเงินชดเชยรายได้ ความคุ้มครองชีวิต และการออม ที่คุ้มค่าที่สุดในตลาด เพราะจากค่าเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,000 บาท สำหรับแผนความคุ้มครองที่ทุนประกันภัย 1 แสนบาท สำหรับ ความคุ้มครองที่ลูกค้าจะได้รับ ประกอบด้วย
- เงินชดเชยรายได้หากต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั้งกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุในช่วงที่จ่ายเบี้ยประกันภัย วันละ 1,000 บาท นานถึง 1,000 วัน หรือสูดสุด 1 ล้านบาท
- ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตตั้งแต่ 1 แสนบาท – 1.45 แสนบาทตลอดสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นมรดกให้กับครอบครัวได้ตั้งหลักเมื่อเสียผู้เป็นเสาหลักของครอบครัวไป
- ผลประโยชน์เงินสดคืน 2,000 บาททุกๆ 4 ปี และครบกำหนดสัญญารับเงินอีกถึง 2.07 แสนบาท
รวมรับผลประโยชน์สูงสุดถึง 2.19 แสนบาท

          นายวิพล กล่าวว่า แบบประกันออมสบาย ชดเชยรายวัน รับประกันตั้งแต่อายุ 25 – 55 ปี มีให้เลือกถึง 3 แผน ได้แก่ ทุนประกันภัย 1 แสนบาท, 2 แสนบาท และ 3 แสนบาท เบี้ยประกันภัยเดือนละ 1,000, 2,000 และ 3,000 บาท รับความคุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 145% ของทุนประกัน และยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย


วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินสนับสนุนโครงการบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี





ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินสนับสนุนโครงการบูรณะ สะพานอุตตมานุสรณ์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2 ล้านบาท
วันนี้ (13 ก.ย.56) เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมแควน้อย ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี รับมอบเงินจากนางองค์อร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,000,000 บาท เพื่อนำไปสมทบทุนบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานไม้) โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมฯ ขณะนี้มียอดบริจาคเงินสมทบทุนบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานไม้) จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 5,000,000 บาท และจากธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,000,000 บาท โดยเงินที่ได้รับบริจาคจะนำไปใช้ในการบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานไม้) เพื่อให้สามารถกลับมาสวยงามดังเดิม
นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ กล่าวว่า ทางจังหวัดกาญจนบุรีได้เปิดบัญชีของธนาคารไทยพาณิชย์ ให้ประชาชนได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนบูรณสะพานอุตตมานุสรณ์ ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อการซ่อมบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์” บัญชีเลขที่ 607-301964-4 และทางธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำตัววิ่งบนหน้าจอตู้ ATM เชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินอีกด้วย สำหรับในเรื่องการเบิกจ่ายเงิน หากมีการดำเนินการที่จะต้องเบิกจ่ายเงิน จะต้องมีการประชุมและมีมติคณะกรรมการบูรณะสะพานอุตตมานุสรณ์ และมีการลงนามเบิกจ่ายจากผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี,รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี,ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี,หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี การดำเนินการซ่อมแซมจะเริ่มดำเนินการในช่วงน้ำลด โดยจะเร่งซ่อมแซมให้เสร็จในระยะเวลาที่เร็วที่สุด
นางองค์อร อาภากร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีจุดยืนในเรื่อง ศิลปะ วัฒนธรรม ดังนั้นเมื่อมีข่าวว่าสะพานอัตตามานุสรณ์หัก ได้รับความเสียหาย จึงได้ประสานไปยังวัดวังวิเวก์การาม ว่าต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เพราะสะพานเป็นสิ่งสำคัญของชาวสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถือว่าเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากความสามัคคี และหากจังหวัดกาญจนบุรีมีเรื่องที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะสามารถร่วมสนับสนุนได้ก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ไทยพาณิชย์จัดสัมมนา SCB Investment Symposium 2013: รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุนแนะโอกาสทองการลงทุนท่ามกลางวิกฤติตลาดผันผวน

20130910_symposium_01.jpg


          ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนาเศรษฐกิจ SCB Investment Symposium: รู้รอบทิศ 

พิชิตการลงทุน ให้ความรู้และคำแนะนำในการลงทุนแก่ลูกค้าและผู้ที่สนใจ ผ่าน 5 กูรูด้านการ

เงินการลงทุนแถวหน้าของประเทศ พร้อมปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. เอกนิติ นิติฑัณฑ์ประภาศ รองผู้

อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ทิศทางตลาดทุน รู้เรื่องหุ้น และการลงทุนไทย เปิดมุมมอง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย สะท้อนแนวคิดด้านการลงทุน มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนัก

ลงทุนเกี่ยวกับ ภาพรวมสภาพเศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสสุดท้าย รวมทั้งทิศทางและเคล็ดลับ 

การลงทุนปลายปี 2556 เพื่อให้นักลงทุนได้เตรียมพร้อมรับมือกับทุกโอกาส และความท้าทายต่างๆ

 ด้านการลงทุน

            นายสมิทธ์ พนมยงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายเงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทย

พาณิชย์ กล่าวว่า "จากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส

สุดท้ายของปี 2556 มีท่าทีที่จะชะลอตัว ตามการคาดการณ์ของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคาร

ไทยพาณิชย์ จีดีพีในไตรมาส 4 น่าจะขยายตัว ประมาณ 2.2% อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจโดยรวมยัง

ค่อนข้างมั่นคง ความสามารถในการ ทำกำไรยังค่อนข้างดี บริษัทชั้นนำก็มีความสามารถในการทำ

กำไรที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสเหมาะแก่การลงทุนระยะยาว ขณะเดียวกันแนวโน้ม

เศรษฐกิจโลก ในภาพรวมมีสัญญาณที่ดีขึ้น ด้านการลงทุนยังถือว่าเป็นช่วงที่นักลงทุนควรจับตามอง 

และระมัดระวังเป็นพิเศษ และเพื่อให้ลูกค้าและนักลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในการติดตาม ความ

เคลื่อนไหวของเศรษฐกิจเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนนั้น ธนาคารจึงได้จัดงาน สัมมนาเศรษฐกิจ

 SCB Investment Symposium ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ ภายใต้หัวข้อ รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุน เพื่อ

ให้ความรู้และข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจ ของประเทศ นโยบายด้านการเงินการคลังที่

น่าจับตามอง รวมถึงทิศทางการลงทุนจากนี้ไป ช่วยให้นักลงทุนวางแผนในการบริหารพอร์ตลงทุนได้

อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ เศรษฐกิจ"

            งานสัมมนาเศรษฐกิจ SCB Investment Symposium : รู้รอบทิศ พิชิตการลงทุน โดยได้รับ

เกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศร่วมให้ความรู้เพื่อเปิดมุมมองด้าน

การลงทุนแก่ผู้ร่วมงาน อาทิ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการ

คลัง ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจไทย" นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการ

และผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้มุมมองเกี่ยวกับ "ทิศทางตลาดทุน รู้เรื่องหุ้น และ

การลงทุนไทย" นายศุภชัย เจียรวนนท์ กับการให้ข้อมูลภาพรวมของธุรกิจโทรคมนาคม ในสภาวะ

เศรษฐกิจปัจจุบัน ผลกระทบ ความน่าสนใจ ทิศทาง และอนาคตของธุรกิจโทรคมนาคม นางโชติกา

 สวนานนท์ กับคำแนะนำลงทุนอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ลงทุนอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด และปิดท้ายด้ว

 ตัวแทนนักลงทุน นายณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์ ลงทุนที่มาให้ประสบการณ์เกี่ยวกับ "มุมมองนักลงทุน 

ความกังวลเรื่องการลงทุนเรื่องปีหลัง รวมทั้งเทคนิคการลงทุนอย่างชาญฉลาด" ไทยพาณิชย์ หวังเป็น

อย่างยิ่งว่าผู้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้จะได้รับข้อมูล อันเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการ

กำหนดกลยุทธ์บริหารพอร์ตการลงทุน ส่วนบุคคลอย่างชาญฉลาด โดยธนาคารให้ความสำคัญกับ

บทบาทการเป็นที่ปรึกษา ทางการเงินและการลงทุนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ มุ่งเน้นในเรื่องการจัดสรร

สินทรัพย์ เพื่อการลงทุน (Asset Allocation) กระจายในทุกกลุ่มการลงทุนหลักๆ และสอดคล้องกับ

 ความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถรับได้ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยเพิ่มพูนความมั่งคั่งจากการ ลงทุนอย่าง

มั่นคงต่อไป” นายสมิทธ์กล่าวสรุป



วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

เอไอเอส 3G วัน-ทู-คอล! เติมเงินด้วย Auto Top Up ผ่าน ATM ไทยพาณิชย์ รับค่าโทรเพิ่มฟรี!! 10%



ลูกค้าเอไอเอส 3G วัน-ทู-คอล! เติมเงินด้วยบริการ Auto Top Up ผ่านเครื่อง ATM ธนาคารไทยพาณิชย์วันนี้ รับค่าโทรเพิ่มฟรี!! 10%

          เอไอเอส 3G วัน-ทู-คอล! โดย นายอเนก อนันต์วัฒนพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารกลุ่มลูกค้าพรีเพด เพิ่มทางเลือกในการเติมเงินอัตโนมัติผ่านบัญชีธนาคารให้แก่ลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือนายไตรรงค์ บุตรากาศ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สาย GTS ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกบริการ “เอไอเอส 3G Auto Top Up ผ่านเครื่อง ATM ธนาคารไทยพาณิชย์” เพื่อให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย โดยไม่ต้องกังวัลว่าเงินจะหมดระหว่างการใช้งาน โดยมีให้เลือกใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเติมเงินให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติทันทีทุกครั้งที่ยอดเงินคงเหลือต่ำกว่า 50 บาท, การเติมเงินแบบอัตโนมัติให้ลูกค้า ทุกเดือนตามวันที่ ที่ลูกค้ากำหนดไว้ รวมทั้งให้ลูกค้าเติมเงินได้เองง่ายๆ ผ่านมือถือ ทุกที่ทุกเวลา เพียงกด*124 แล้วโทรออก โดยมียอดเงินให้เลือกเติมได้ตั้งแต่ 50-1,500 บาท พิเศษ!!!ทุกครั้งที่เติมเงินผ่านบริการดังกล่าว ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2556 รับค่าโทรเพิ่มฟรี!! 10% ลูกค้าที่สนใจสมัครใช้บริการได้ง่ายๆ ผ่านทางเครื่อง ATM ธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เอไอเอส คอลล์ เซ็นเตอร์ 1175 หรือ SCB คอลล์


วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ไทยพาณิชย์คาดศก.โต4%การบริโภคแผ่ว


ไทยพาณิชย์มองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 4% การบริโภคในประเทศเริ่มแผ่ว! หนี้ครัวเรือนพุ่ง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เมกะโปรเจคเลื่อน

          ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของไทยในไตรมาส 2 ปี 2013 ขยายตัว 2.8%YOY (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า) ชะลอลงจาก 5.4%YOY ในไตรมาสที่ผ่านมา หรือหดตัว 0.3%QOQ (เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ปรับฤดูกาล)

          ทั้งนี้ GDP หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน GDP ในไตรมาส 2 หดตัวลง 0.3% QOQ หลังจากที่หดตัว 1.7%QOQ ในไตรมาส 1 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือนและการส่งออกสินค้าและบริการที่ลดลงต่อเนื่อง

          EIC ระบุว่า อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 โดยสามารถขยายตัวได้เพียง 3.4%YOY ชะลอลงจาก 4.6%YOY ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงเหลือ2.4%YOY จาก 4.4% ในไตรมาสก่อนหน้าตามการบริโภคในกลุ่มสินค้าคงทนประเภทยานยนต์หลังจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกทยอยหมดลง

          ขณะที่การลงทุนขยายตัวราว 4.5%YOY ชะลอลงจาก 5.8% ในไตรมาสก่อนหน้าตามการชะลอตัวลงของการก่อสร้างในส่วนของภาครัฐที่ขยายตัวได้เพียง 2.4%YOY จาก 13.4%YOY ในไตรมาสแรก นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนชะลอลงเล็กน้อยทั้งในส่วนของการก่อสร้างและการลงทุนในเครื่องจักร

          ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าหดตัวแต่รายรับด้านบริการยังขยายตัวสูง การส่งออกหดตัว 1.5% ในไตรมาสสอง โดยการส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวลงตามปริมาณผลผลิตกุ้ง เนื่องจากเกษตรกรชะลอการเลี้ยงกุ้งรอบใหม่หลังจากที่ต้องประสบกับปัญหาจากโรค Early Mortality Syndrome หรือ EMS ในกุ้งในช่วงที่ผ่านมา และการส่งออกข้าวที่ลดลงจากการชะลอการนำเข้าของประเทศผู้นำเข้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ

          ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักอย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นหดตัวตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี รายรับที่ได้จากการบริการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากการ ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต่างชาติยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง

          EIC ระบุว่า แนวโน้มการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอตัวลงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวในปีนี้ แม้ว่ารายได้เกษตรกรจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญและเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำจะส่งสัญญาณที่ดีต่อทิศทางการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะต่อไป แต่การก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคในช่วงก่อนหน้านี้ทำให้ประชาชนเริ่มมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

          ในขณะที่ภาคเอกชนยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงทุนเพิ่มเติมเนื่องจากได้มีการลงทุนเพื่อชดเชยความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมได้ไม่นานรวมถึงยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่ อีกทั้งแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐในครึ่งปีหลังยังถูกชะลอออกไป ทำให้แรงส่งจากการใช้จ่ายภายในประเทศมีโอกาสที่จะหายไปบ้างในช่วงที่เหลือของปี

          “เศรษฐกิจไทยปี 2013 น่าจะขยายตัวที่ราว 4% การส่งออกในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ตามการฟื้นตัวของประเทศกลุ่ม G-3 รวมถึงประเทศจีนที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น แต่เศรษฐกิจไทยยังมีอุปสรรคจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้ไม่ง่ายนักในภาวะที่ภาคครัวเรือนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายเนื่องจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น”